ผู้ติดตาม

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Samsung ATIV S สมาร์ทโฟนรันระบบปฏิบัติการ Windows Phone 8


Samsung ATIV S สมาร์ทโฟนรันระบบปฏิบัติการ Windows Phone 8 ตัวแรกจากค่าย Samsung มาพร้อมจุดเด่นหน้าจอขนาดใหญ่ 4.8 นิ้ว HD Super AMOLED บนวัสดุกระจก Gorilla Glass 2 ภายใต้ตัวเครื่องรูปทรงที่เหลี่ยมผืนผ้า มุมขอบโค้งมน เพรียวบางแต่แข็งแรงทนทาน ขับเคลื่อนด้วย CPU ระดับ dual-core ความเร็ว 1.5GHz รองรับการทำงานแบบมัลติทาสกิ้ง มีแบตเตอรี่ความจุสูงถึง 2,300mAh ให้การใช้งานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง..
Samsung ATIV S มาพร้อมจอแสดงผลระบบสัมผัสกว้าง 4.8 นิ้ว ความละเอียด 1280x720 พิกเซล เทคโนโลยี HD Super AMOLED ขับเคลื่อนด้วย CPU dual-core 1.5GHz, RAM 1GB, ROM 16GB, รองรับการ์ดหน่วยความจำภายนอก microSD card, รองรับการเชื่อมต่อ 2G EDGE/GPRS (850/900/1800/1900MHz), 3G HSPA+ (850/900/1900/2100MHz), Wi-Fi, GPS (A GPS+ GLONASS), Bluetooth 3.0 A2DP, NFC, กล้องหลัง 8 ล้านพิกเซล ออโต้โฟกัสพร้อมไฟแฟลช, กล้องหน้า 1.2ล้านพิกเซล แบตเตอรี่ความจุ 2,300mAh
Samsung ATIV S มีหน้าจอขนาดใหญ่ 4.8 นิ้ว ตัวเครื่องบางเบา ขอบตัวเครื่องสไตล์เมทัลลิกเคลือบผิวอย่างประณีต สวยงามแลดูทันสมัย วัดขนาดตัวเครื่องได้กว้าง 137.2 มม. ยาว 70.5 มม. หนา 8.7 มม. น้ำหนัก 135 กรัม
ด้านหน้าตัวเครื่อง มาพร้อมกับจอแสดงผลสีสันสดใส ภายใต้หน้าจอกว้าง 4.8 นิ้ว ความละเอียด HD 1280x720 พิกเซล เทคโนโลยี HD Super AMOLED ให้สีสันสดใส สว่างคมชัด เหนือหน้าจอมีโลโก้ SAMSUNG และช่องลำโพงสนทนา ถัดไปข้างขวามีเซนเซอร์ปรับความสว่างและปิดหน้าจออัตโนมัติขณะสนทนา ขวาสุดมีเลนส์กล้องหน้าความละเอียด 1.2 ล้านพิกเซล
ข้างล่างหน้าจอมีปุ่มกด (Home Button) และปุ่มกดแบบสัมผัสสองปุ่ม (Back, Search) ขนาบข้างพร้อมจะเรืองแสงเมื่อกดใช้งาน
ด้านบนตัวเครื่อง มีช่องไมโครโฟนและช่องเสียบหูฟังมาตรฐาน 3.5 มิลลิเมตร
ด้านล่างตัวเครื่องมีช่องไมโครโฟนและพอร์ต microUSB
ด้านซ้ายตัวเครื่องมีปุ่มปรับระดับเสียง (Volume up/down)
ด้านขวาตัวเครื่อง ส่วนบนมีปุ่มพาวเวอร์ (Power) สำหรับเปิด-ปิดเครื่อง/หน้าจอ (ปุ่มขวาในรูป), ส่วนล่างมีปุ่มชัตเตอร์กล้อง (ปุ่มซ้ายในรูป)
ด้านหลังตัวเครื่อง มีฝาหลังวัสดุโพลีคาร์บอเนต ให้ความรู้สึกคล้ายสีเงินของอลูมิเนียม สามารถเปิดฝาหลังเพื่อใส่ microSIM, microSD การ์ดเพิ่มเติมได้ และสามารถอดเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ โดยตัวแบตเตอรี่มีความจุ 2,300mAh
ส่วนบนของฝาหลัง มีช่องเลนส์กล้องหลังความละเอียด 8 ล้านพิกเซล เคียงคู่กับไฟแฟลช ถัดลงมามีโลโก้ SAMSUNG สลักอยู่บนฝาหลัง
ด้านล่างมีโลโก้ Windows Phone และที่ส่วนล่างสุดของฝาหลังมีช่องลำโพงเป็นแนวยาว
Samsung ATIV S เตรียมวางขายในช่วงกลางเดือนธันวาคม โดยจะมีสนนราคาไม่เกิน 20,000 บาท และทาง Samsung สัญญาว่าจะลงตลาดพร้อมกับโปรโมชั่นโดนๆ ที่คุณห้ามพลาด!!!
Samsung Galaxy S Duos  - ซัมซุง
คัดลอก http://news.siamphone.com/news-09976.html
ข้อมูลผู้ใช้ ร่วมแสดงความเห็นกับ Samsung ATIV S
แคตตาล็อกตัวเครื่อง : http://www.siamphone.com/spec/samsung/ativ_s.htm

Microsoft เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows Phone 8 หรือโค้ดเนม Apollo


หลังจาก Microsoft เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows Phone 8 หรือโค้ดเนม Apollo ได้ไม่นาน ก็มีผู้ใช้พบปัญหาเป็นจำนวนมาก ทั้งเรื่องเสียงและการใช้อินเทอร์เน็ต WiFi รวมถึงปัญหาอื่นๆ Microsoft จึงเตรียมปล่อย Update ระบบปฏิบัติการ Window Phone โค้ดเนม Apollo Plus ปีหน้า เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
Window Phone โค้ดเนม Apollo Plus ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงเครือข่าย VPN ซึ่งเป็นเครือข่ายสื่อสารภายในองค์กรที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเชื่อมต่อเครื่อข่ายและแก้ไขข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการเชื่อมต่อสัญญาณ Wifi ที่ผู้ใช้บางรายไม่สามารถเชื่อมต่อได้ นอกจากนี้ยังแก้ไขปัญหาของเสียงที่ไม่ดังและระบบการแจ้งเตือนที่ไม่แสดงผลอีกด้วย
ซึ่งทาง Microsoft จะทำการตรวจสอบข้อผิดพลาดของ Apollo ทั้งหมดอีกครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงใน Apollo Plus ก่อนจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน Mobile World Congress ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า โดยสามารถ Update Window Phone โค้ดเนม Apollo Plus ผ่านระบบ OTA ซึ่งเป็นการ Update ผ่านสัญญาณไร้สาย และสามารถ Update ผ่านคอมพิวเตอร์ได้ด้วยเช่นกัน
คัดลอก http://news.siamphone.com/news-09914.html

Windows Phone 7


ช่วงหัวค่ำวันนี้ ไมโครซอฟท์ได้แถลงข่าวเปิดตัว Windows Phone 7 อย่างเป็นทางการ โดยประกาศตัวเครื่องโทรศัพท์ชุดแรกจำนวน 10 รุ่นจากผู้ผลิตทั้งหมด 4 บริษัท ซึ่งจะเริ่มวางขายในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้าใน 10 ประเทศ (ยังไม่มีประเทศไทย)
ก่อนจะไปถึงบทวิเคราะห์ ผมขอย้อนข้อมูลของ Windows Phone 7 ทั้งที่ประกาศมาก่อนหน้านี้ และเพิ่งประกาศในวันนี้ก่อนนะครับ

ฮาร์ดแวร์

ผู้ผลิตมือถือที่ร่วมเปิดตัว WP7 มีด้วยกัน 4 รายคือ HTC, Samsung, LG และ Dell รายที่เคยเป็นข่าวแต่ยังไม่มาจริงคือ Sony Ericsson
รายละเอียดของมือถือแต่ละยี่ห้อ ดูได้จากข่าวที่คุณ nuntawat เขียนแยกตามยี่ห้อไว้
มือถือทุกรุ่นมีสเปกใกล้เคียงกันคือ ซีพียู Snapdragon 1 GHz ส่วนขนาดหน้าจอและกล้องจะต่างกันไปตามแต่ละรุ่นย่อย รวมถึงฟีเจอร์เฉพาะรุ่นบางอย่าง เช่น คีย์บอร์ด QWERTY หรือลำโพงเพิ่มพิเศษในกรณีของ HTC Surround เป็นต้น
วิดีโอแนะนำมือถือเฉพาะรุ่นที่ขายในสหรัฐคราวนี้
มือถือแต่ละรุ่นจะแยกย้ายกันไปขายตามแต่ละเครือข่าย เครือข่ายในประเทศเดียวกันมักจะไม่ได้มือถือซ้ำกัน ส่วนประเทศที่วางขายแบ่งได้เป็น 3 ทวีป คือ
  • อเมริกาเหนือ: สหรัฐ, แคนาดา, เม็กซิโก
  • ยุโรปตะวันตก: อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, สเปน, อิตาลี
  • เอเชีย: สิงค์โปร์, ออสเตรเลีย
(รายละเอียดดูใน press release ของไมโครซอฟท์)
ราคาที่เปิดเผยของ AT&T อยู่ที่ 199 ดอลลาร์แบบติดสัญญาสองปี คาดว่าเข้ามาบ้านเราคงสองหมื่นนิดๆ ระดับเดียวกับ iPhone 4 หรือ Samsung Galaxy S ครับ

ซอฟต์แวร์

โลกแห่งสมาร์ทโฟนนั้นคุ้นเคยกับธรรมเนียม "เซอร์ไพรส์" ของแอปเปิลไปเสียแล้ว มิหนำซ้ำ คู่แข่งอย่างกูเกิลและ RIM ก็ดำเนินแนวทางนี้ ทำให้เรา "คาดหวัง" ว่างานแถลงข่าวจะมีอะไรแปลกใหม่ให้ร้อง wow ไปอีกสามวัน และงานของไมโครซอฟท์ก็ไม่เว้น
แต่ไมโครซอฟท์ก็ยังเป็นไมโครซอฟท์ ทุกอย่างที่เราเห็นในงานแถลงข่าววันนี้ เป็นสิ่งที่ไมโครซอฟท์โชว์มาหมดแล้วตั้งแต่งาน Mobile World Congress ที่บาร์เซโลนาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ สิ่งที่ประกาศเพิ่มมีแค่รายการฮาร์ดแวร์พร้อมเปิดตัวเท่านั้น
ถ้ามองแบบเข้าข้างไมโครซอฟท์หน่อย ก็ต้องบอกว่าไมโครซอฟท์เพียงลำพังคงไม่สามารถซุ่มเงียบสร้างแพลตฟอร์มมือถือสุด wow อยู่ 1-2 ปีได้ ไมโครซอฟท์ระยะหลังหันมาใช้ยุทธศาสตร์ release early, release often แม้ว่าจะเสียความตื่นเต้นไปบ้าง แต่มันก็แลกกลับมาด้วยความเห็นอันมีค่าจากคู่ค้าและนักพัฒนาภายนอกนั่นเอง
Windows Phone 7 ที่เราเห็นในวันนี้ ไม่ต่างอะไรจาก SDK ที่แจกกันมาหลายเดือนแล้ว ถ้าให้สรุปคร่าวๆ อีกครั้ง Windows Phone 7 เปลี่ยน UI เป็นหลักครับ โดยหน้า home screen ทำเป็นช่องแสดงข้อมูลที่เรียกว่า Live Tiles ตามภาพ
ไมโครซอฟท์โฆษณา Live Tiles เป็นจุดขายหลักของ WP7 โดยบอกว่า "แค่ชำเลืองมองก็ได้ข้อมูลครบแล้ว" ตามสโลแกน "Glance and Go" และตรงกับใจความของโฆษณาที่หลุดมาก่อนหน้านี้

เบราว์เซอร์ใช้ IE, ค้นหาด้วย Bing, ดูแผนที่ด้วย Bing Maps อันนี้คงไม่ต่างอะไรจากสมาร์ทโฟนตัวอื่นๆ แค่เปลี่ยนมาใช้บริการออนไลน์ของไมโครซอฟท์แทนทั้งหมด
ในส่วนของอีเมล อาจมีจุดขายคือชื่อ Outlook ฟีเจอร์คงไม่มีอะไรต่างจากโปรแกรมอีเมลบนมือถือตัวอื่นๆ แต่ที่ผมดูวิดีโอในงานเปิดตัวและคิดว่าเป็น killer feature มากๆ คือ "เปิด PowerPoint แล้วไม่เพี้ยน" เสียดายไม่มีรูปภาพให้ดู
อันที่น่าสนใจคือแนวคิดเรื่อง "Hub" หรือหน้าจอรวมมิตรข้อมูล แยกตามประเภทของงานที่เราสนใจ ในเบื้องต้นไมโครซอฟท์ให้เรามา 6 อย่าง
Music + Videos Hub ตามชื่อคือดูหนังและฟังเพลง จุดที่เข้ามาเสริมคือบริการ Zune Pass ของไมโครซอฟท์ ฟังเพลงไม่จำกัดขอแค่เสียค่ารายเดือน (เมืองไทยน่าจะอดตามสูตร)
Pictures Hub บริหารจัดการรูปภาพ เหมือนกับสมาร์ทโฟนคู่แข่งอื่นๆ เพิ่มมานิดเดียวคือรูปจะถูกอัพโหลดไปไว้บนอินเทอร์เน็ตให้ทั้งหมด
People Hub หน้ารวม contact และสถานะใน social network คนที่ใช้พวก HTC Sense มาคงคุ้นเคยดีอยู่แล้ว
(ผมมีข้อกังขากับแนวคิดการรวมสถานะไปไว้ใน contact ว่ามันจะมีคนเข้าไปอ่านจริงๆ หรือ เพราะเอาเข้าจริงเราก็อ่านสถานะผ่านโปรแกรม Twitter/Facebook โดยเฉพาะแทน)
Office Hub ไมโครซอฟท์โชว์ฟีเจอร์นี้น้อยมาก ทั้งที่มันควรเป็นฟีเจอร์เด็ด มันเปิดไฟล์ของ Microsoft Office ได้แน่ๆ รวมถึงไฟล์ที่เก็บอยู่ใน SharePoint (แต่จะมีสักกี่คนกันที่ใช้ SharePoint โดยเฉพาะผู้ใช้ทั่วไป) สำหรับการแก้ไขเอกสาร อันนี้ต้องรอดูในรีวิวครับ
Games Hub เรื่องการต่อเชื่อมกับ Xbox Live อันนี้เห็นกันมานานแล้ว ส่วนเกมที่เปิดตัวเพิ่มในคราวนี้คือ 4 เกมดังจาก EA อันประกอบด้วย
  • Need for Speed Undercover
  • Tetris
  • The Sims 3
  • MONOPOLY (เกมเศรษฐี)
ส่วนเกมอื่นๆ ที่เปิดตัวพร้อมเครื่อง เคยลงเป็นข่าวไปแล้ว ดูรายชื่อได้จาก Press Release ส่วนเกม
Marketplace Hub สุดท้ายคือ Marketplace ร้านขายของออนไลน์ของไมโครซอฟท์ โปรแกรมเปิดตัวพร้อมเครื่องได้แก่ Twitter, Netflix, IMDb ฯลฯ
ประเด็นอื่นๆ ด้านซอฟต์แวร์
  • ฟีเจอร์ Find My Phone สำรองข้อมูลทั้งหมดบนเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์ และเข้าถึงได้ผ่านเว็บ (คู่แข่งมีนานแล้ว)
  • ณ ตอนนี้ WP7 ยังไม่มี copy & paste โดยไมโครซอฟท์สัญญาว่าจะตามมาในปี 2011 - pocketnow

บทวิเคราะห์

ถ้าเราเอาความหวือหวาของแอปเปิลเป็นที่ตั้ง เราย่อมผิดหวังกับงานแถลงข่าวครั้งนี้ของไมโครซอฟท์อย่างแน่นอน
แต่ถ้าใช้กรอบวิเคราะห์ด้านยุทธศาสตร์มาประเมิน ผมว่าไมโครซอฟท์ทำการบ้านมาดีทีเดียว เพราะสามารถสร้างแพลตฟอร์มมือถือที่ "ไม่แพ้" คู่แข่ง (แม้ว่าจะยังไม่ชนะ) ภายในเวลาเพียง 8 เดือน นับจากที่ประกาศไว้ใน Mobile World Congress
ถ้าย้อนดูสองสามปีที่แล้วไมโครซอฟท์เงียบเหงามากนะครับ
  • 2007 - ปีเดียวกับที่แอปเปิลออก iPhone รุ่นแรก ไมโครซอฟท์ออก WM 6.0
  • 2008 - ปีถัดมาแอปเปิลออก iPhone 3G ไมโครซอฟท์มี WM 6.1
  • 2009 - ไมโครซอฟท์ออก WM 6.5 รุ่นขัดตาทัพ ในขณะที่แอปเปิลเริ่มเข้าที่กับ iPhone 3GS และ iOS 3
จะเห็นว่าระยะห่างมันไกลขึ้นเรื่อยๆ ถ้าแอปเปิลสามารถออก iPhone 4 ได้ และไมโครซอฟท์ยังไม่สามารถออกอะไรที่ดีกว่าสาย WM 6.x ก็คงต้องพับเสื่อกลับบ้านไปในปีนี้
แต่สุดท้ายเราก็เห็นว่า WP7 ออกมากู้หน้าได้สำเร็จในระดับหนึ่ง ถ้าเอาเฉพาะตัวระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชันที่ติดมาด้วย มันทำได้เกือบทุกอย่างที่คู่แข่งทำได้ ไมโครซอฟท์กลับมา "ทันสมัย" ในระดับเดียวกับ iPhone และ Android ปล่อยให้โนเกียยังเคว้งอยู่ในกลุ่มระบบปฏิบัติการมือถือรุ่นเก่า
ฟีเจอร์ของ WP7 ยังไม่สมบูรณ์นัก เฉกเช่นเดียวกับ iPhone รุ่นแรก ในแง่ธุรกิจมันคงรอฟีเจอร์สมบูรณ์พร้อมทั้งหมดไม่ได้ ต้องเข็นเท่าที่ "พอรับได้" ออกมาก่อน ก่อนที่จะสายเกินไป แล้วที่เหลือค่อยๆ ปรับปรุงเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ ซึ่งเราเห็นแอปเปิลและกูเกิลใช้ยุทธศาสตร์นี้มาก่อนแล้ว (Android รุ่นแรกแย่กว่านี้ด้วยซ้ำ ถ้าเห็น Android รุ่นแรกแล้วคงจินตนาการถึงทุกวันนี้ลำบาก)
จุดที่ผมคิดว่าน่าจับตาคือ WP7 วางรากฐานที่สำคัญให้กับ Windows Phone ในอนาคตหลายประการ เช่น
  • สเปกของฮาร์ดแวร์ถูกล็อคให้เท่ากัน ทำให้การอัพเกรดทำได้ง่ายกว่ามือถือ Android ที่ไร้การควบคุม ผมเชื่อว่ามือถือชุดแรกจะสามารถอัพเกรดเป็น WP 7.1, 7.2 ได้อีก 1-2 รุ่น และจะเป็น over-the-air จากไมโครซอฟท์พร้อมกันทั้งหมด ไม่ต้องรอลุ้นแบบ Android
  • UI ถูกควบคุมให้คงที่ด้วยแนวคิด Tiles และ Hub อีกสักพักเราคงเห็นอะไรดีๆ จากทีมอื่นๆ ของไมโครซอฟท์ตามมาอีกเยอะ เช่น Windows Live Hub, MSN Hub, MSDN Hub
  • เครื่องมือการพัฒนาเป็น Silverlight/XNA จะสานต่อชุมชนนักพัฒนาสายไมโครซอฟท์ที่มีอยู่เยอะมาก ให้เวลาคนกลุ่มนี้สักหกเดือนหรือหนึ่งปี คงจะมีแอพพลิเคชันน่าสนใจออกมามากขึ้น
ไมโครซอฟท์เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่มาก และเราจะเห็นว่าในทุกๆ ด้านของ WP7 มีบริการอื่นๆ ของไมโครซอฟท์คอยเสริมอยู่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Xbox, Office, Bing, Windows Live ฯลฯ ซึ่งไม่มีคู่แข่งคนไหนมี (กูเกิลไม่มีเพลงและเกม แอปเปิลไม่มีแผนที่และ search)
ถ้าไมโครซอฟท์ฉลาดพอ อีกไม่ช้าเราจะเห็นการประสานเชื่อมต่อกันของผลิตภัณฑ์ฝ่ายต่างๆ ของไมโครซอฟท์ เพื่อมาปรากฎกายบน WP7 และช่วยผลักดันแพลตฟอร์มโดยรวมให้น่าสนใจมากขึ้น ที่เด่นที่สุดคงเป็นเกมทั้งจาก Xbox และ Microsoft Games Studio เดี๋ยวเราคงได้เห็นภาคเสริมยิบย่อยของ Age of Empire, Microsoft Flight, Halo, Gears of Wars, Fable แห่กันมาลง WP7 เป็นแน่แท้
ผมคิดว่าสิ่งที่สรุปสาระสำคัญของการเปิดตัว WP7 ในครั้งนี้คือ press release อันหนึ่งของไมโครซอฟท์ ซึ่งตั้งชื่อว่า A Fresh Start for the Smartphone
การเปิดตัว WP7 ไม่หวือหวาจนน่าประหลาดใจ แต่มันคือก้าวแรกสำหรับการกลับมาใหม่ (fresh start) ของยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟท์ และเมื่อเดินออกมาจากบ้านด้วยก้าวแรกอย่างมั่นคงแล้ว ก้าวที่สองและสามก็จะเดินเร็วขึ้นเรื่อยๆ
จับตาดูวิวัฒนาการของ Windows Phone กันให้ดีๆ ครับ มันจะพัฒนาตัวเองไปอย่างรวดเร็วแน่นอน และจับตาการแข่งขันของวงการสมาร์ทโฟนด้วยเช่นกัน สองสามปีก่อนเรายังมีแค่ Windows Mobile, Symbian (และ BlackBerry ในโลกอันห่างไกล) อยู่เลย วงการนี้เพิ่งอยู่ในยุคอรุณรุ่งเท่านั้น!!!
คัดลอก http://www.blognone.com/news/19148/windows-phone-7-%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%97%E0%B9%8C

Windows Phone 8 ไปกับ Lumia 920


อินไซด์ Windows Phone 8 ไปกับ Lumia 920



จังหวะที่ 8 ของไมโครชอฟท์ กับระบบปฏิบัติการณ์วินโดวส์โฟน 8 ที่ร่วมกับคู่ขานัมเบอร์ 1 อย่างโนเกีย ได้ฤกษ์โยนโปรเจ็กต์ Nokia Lumia 920  และ  Lumia 820 ออกมาบนพรมของงาน Nokia Wold เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา

แม้จะยังเรียกสายตาได้ไม่มากเท่าที่ควร เท่าคำโปรยของ Steve Ballmer  เตือนให้แอิปเปลจงระวังหลังแต่เชื่อแน่ว่านี่คือตัวแปล ซึ่งจะยันว่า iPhone 5 ที่มา 12 ก.ย.  หากจัดมาเบากว่านี้  Lumia 920 อาจเสียบกลางหลัง ทะลุยันม้ามก็เป็นได้  ? ชมอัพเดทฟีเจอร์ Windows Phone 8 ที่น่าสนใจในเพลานี้กันดีกว่า!!

Step Up! come with Windows Phone 8 !!



 A new look start screen

แม้เมโทรอินเตอร์เฟสบนวินโดวส์โฟน 7.5 จะสร้างความประทับใจ และแปลกแหวกชนิดที่ต้องลองก่อนตาย แต่จุดเด่น ซึ่งกลายเป็นจุดบอดอย่าง live tiles ซึ่งไม่สามารถตกแต่งได้ ก็สร้างความลำบากให้เช่นกัน ในการเลื่อนลงมาดูแอพพลิเคชั่น  สำหรับ Windows Phone 8 คุณจะหมดกับปัญหาดังกล่าว เราสามารถจัดการกับtiles ได้ทั้งขนาด ไซต์ และลำดับความสำคัญ รวมถึงควบคุมธีมได้เองอีกด้วย


New hardware, new resolutions

แน่นอนตัวแปลของแอนดรอยด์นั้นเน้นไปที่การอัดขุมพลังฮาร์ดแวร์ เพื่อรองรับประสบการณ์ขนมเวอร์ชั่นขั้นสุด บนไอโอเอสคุณได้ความเข้ากันดีของระบบปฏิบัติการณ์กับฮาร์ดแวร์ แฟนๆ โนเกียคาดหวังทั้งสองสิ่งพร้อมกัน และ 1.5GHz Dual Core Snapdragon S4 กับ Windows Phone 8 คือความกลมกล่อมที่พอดิบพอดีได้อีก


Camera app

ฟังก์ชั่นของ camera app ในวินโดวส์ 8 ได้ถอดซูมออกจากบาร์เอามาไว้ในฟังก์ชั่นของตัวแอพแทน เพิ่มส่วนควบคุมการใช้งานแฟลช และฟิลเตอร์เข้ามา พร้อมกับประสบการณ์ PureView และ AF-assist light ทุกอย่างมันคือความพร้อมที่จะสอดประสานกัน เพอร์เฟ็กต์จนแทบทำให้คุณไม่ต้องแลแอพอื่นใดเพิ่มเติม

Screenshots

ความสำคัญเช่นการแคปหน้าจอ เพื่อสร้างสกรีนชอต เปนฟีเจอร์ที่ถูกมองข้าม แต่มีความสำคัญอย่างมาก ในหลายๆ กรณี ที่คุณอาจต้องใช้ตัวช่วยอื่นๆ อาทิ บนแอนดรอยด์ สำหรับงานนี้ คุณสามารถกดปุ่ม Power+Home เพื่อเก็บสกรีนชอตได้ง่ายๆ

Lock screen notifications

ความสามารถของโอเอส ในส่วนของการแจ้งเตือน คุณสามารถตั้งค่าการแจ้งเตือนในแต่ละแอพ และเมื่อปลดล๊อคหน้าจอสามารถเข้าสู่ตัวแอพนั้นๆ ได้ทันที รวมทั้งปิดและเปิดการแจ้งเตือนและเข้าถึงแอพนั้นได้ด้วยตัวเอง

Multi-core processors

หากใครสัมผัสประสบการณ์ Windows Phone 7 คุณจะทราบว่า มันสามารถทำงานผ่านรูปแบบของมัลติฟังก์ชั่นได้ค่อนข้างดี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใหม่นี้ หน่วยประมวลผลได้อัพเกรดเป็นดูอัลคอร์ อย่างที่ทราบกัน ซึ่งมันจะช่วยให้ทุกอย่างรวดเร็ว และเสถียรกว่าที่เป็นอยู่มาก


New screen resolutions

หน้าจอที่เพิ่มการทำงานของกราฟฟิค และอัพเกรด GPU ไมโครฟอฟท์ได้เขยิบ ความละเอียดที่ซัพพรอตวินโดวส์โฟน 8 ที่ หน้าจอ 15:9 ( 1280 x 768) และ 16:9  (1280 x 720) ซึ่งคุณจะได้เห็นประสบการณ์ใหม่ๆ ในขณะชมภาพยนตร์หรือเล่นเกม

NFC and Wallet Hub

เทคโนโลยี NFC ที่ผนวกเข้ามา นำไปสู่การจับจ่ายที่ง่ายขึ้น Windows Phone 8 ได้ผนวกเอาฟีเจอร์ที่จำเป็น และเห็นได้จาก iOS และ Android เข้ามา รวมถึงระบบความปลอดภัยและการจัดเก็บข้อมูลของคุณ และมันไม่ได้จำกัดแค่แอพของไมโครซอฟท์เท่านั้น APIs ยังรองรับและเปิดกว้างให้กับทีมพัฒนาอื่นๆ อาทิPayPal ซึ่งเราคงได้เห็น ค่ายต่างๆ ทยอยปล่อยแอพเพื่อรองรับ NFC ดังกล่าว บนวินโดวส์ 8 มากขึ้น .


PureView Technology

น้องๆ DSLR อย่าง Nokia 808 PureView นั้นขึ้นแท่น มือถือกล้องเทพ ไปอย่างไม่ต้องสงสัย ขณะที่ Lumia 920 ก็แนบโปรไฟล์ PureView เข้ามาเช่นกัน แม้จะทำได้เพียง 8.7 MP เป็นเซนเซอร์เพียววิวรุ่นที่สอง

มันเริ่มต้นที่ Back-Side Illuminated (BSI) ที่รับปริมาณแสงได้มากกว่า เซ็นเซอร์ชนิด FSI (Front-Side Illuminated)  ทั่วๆ ไป ด้วยการปรับตำแหน่งสายไฟและโลหะ เพื่อให้โฟตอนของแสงตกสู่พิกเซลมากขึ้น ทำให้ภาพถ่ายในที่แสงน้อย มีความชัดเจนขึ้น

PureView ใน Nokia Lumia 920 ยังใช้ aperture ขยับขึ้นเป็น f/2.0 (รุ่นแรกเป็น f/2.4) เซ็นเซอร์ของPureView ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษจะใหญ่กว่าเซ็นเซอร์กล้องมือถือทั่วไปที่ความละเอียด เดียวกันถึง 10% (คิดสัดส่วนภาพแบบ 16:9)

ภาพที่ถ่ายด้วย OIS จาก Lumia 920

Optical Image Stabilisation (OIS)

คือ ระบบป้องกันภาพสั่นไหว ที่เห็นในกล้องถ่ายรูป ซึ่งไม่นิยมกับสมาร์ทโฟน เพราะข้อจำกัดเรื่องขนาด ซึ่่งLumia 920 ใช้การ เคลื่อนชุดเลนส์ (optical assembly) ทั้งชุด ทำให้ ชดเชยการสั่นได้ 500 ครั้ง/วินาที เคลมว่า มากกว่า OIS ทั่วไป ถึง 50% โนเกียบอกว่า คนทั่วไปแล้วสามารถถือกล้องไม่ให้สั่นได้ที่ ความเร็วชัตเตอร์ 1/30 วินาที และ เทคนิคของ OIS บน 920 สามารถเพิ่มระยะการถือกล้องไม่ให้สั่นได้กว่า 8 เท่า



Next generation LED flash

นอกจากตัว  BSI ที่มีส่วนในการถ่ายภาพแบบแสงน้อยแล้ว 920 ยังมี LED flash ตัวใหม่ ที่เพิ่มโหมดการยิงแฟลช pulse flash burst ที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับภาพถ่าย ขณะวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวด้วย

ภาพจาก Lumia 920 เปิดแฟลชตัวใหม่

 ภาพจากมือถือตัวท้อปค่ายอื่นไม่ระบุรุ่น เปิดแฟลชเช่นกัน

Nokia Image Processing Technology

เป็นการเพิ่ม  image framework ตัวใหม่ ปรับอัลกอริทึมเพื่อแก้ noise ของภาพ ซึ่งใช้ได้กับ WP8  รุ่นอื่นๆด้วย

Smartshoot & Cinemagraph

หากคุณรู้จัก แอพอย่าง  GifBoom ที่สร้างภาพเคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเอง หรือ Smartest Eraser ลบอะไรที่ต้องการออกจากภาพ ทั้งสองอย่างนี้คือฟีเจอร์ที่ผนวกเข้ามาบน lumia 920 เรียบร้อยแล้ว


Specification PureView Gen.2


Carl Zeiss Optics
Optical Image Stabiliser Barrel shift type
Stabiliser performance Up to 3EV (8x longer shutter speeds)
Focal length: 3.73mm
35mm equivalent focal length:
26mm, 16:9
28mm, 4:3
F-number: f/2.0
Focus range: 8cm – Infinity
Construction: 5 elements, 1 group. All lens surfaces are aspherical
Optical format: 1/3
Sensor: BSI (Backside illuminated)
Total pixel are used: 3553 x 2448 – 8.7Mpix
Pixel Size: 1.4 microns



คัดลอก http://tech.mthai.com/mobile-tablet/20057.html
 

** Windows Phone 8

ไมโครซอฟท์ (Microsoft) เปิดตัวระบบปฏิบัติการใหม่สำหรับใช้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ซึ่งจะพร้อมติดตั้งในสมาร์ทโฟนตระกูลวินโดวส์โฟน (Windows Phone) เจเนอเรชันหน้า แน่นอนว่ามีข้อมูลรายละเอียดหลายเรื่องที่ผู้บริโภคอย่างเราควรรู้ และบทความนี้คือจุดเริ่มต้นที่คุณไม่ควรพลาด
      
       ***Windows Phone 8 เปลี่ยนแปลงด้านฮาร์ดแวร์อย่างไรบ้าง?
      
       Windows Phone 8 รองรับชิป Near-Field Communication (NFC) ซึ่งทำให้ผู้ใช้วินโดวส์โฟนนำเครื่องมา"แตะ"กับเครื่องอ่านเพื่อรับส่งข้อมูลที่ต้องการแบบไร้สายแสนสะดวก ขณะเดียวกัน Windows Phone 8 ยังรองรับชิปประมวลผลหลายคอร์ (multicore) ทั้งดูอัลคอร์และควอดคอร์ซึ่งจะช่วยให้เครื่องทำงานได้ลื่นไหลมากขึ้น
      
       Windows Phone 8 รองรับความละเอียดหน้าจอใหม่ที่ 1,280x720 พิกเซล เทียบเท่าความละเอียด HD 720p 
      
       Windows Phone 8 เปิดทางให้ผู้ผลิตวินโดวส์โฟนสามารถเพิ่มช่องเสียบเมมโมรี่การ์ด SD ซึ่งถือเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดในด้านฮาร์ดแวร์ของ Windows Phone 8
      
       ***start screen ใหม่แจ๋วแค่ไหน?
      
       ไมโครซอฟท์ออกแบบหน้าจอหลักหรือ start screen ใหม่ใน Windows Phone 8 โดยเปิดทางให้ผู้ใช้ยืดขยายไอคอนบนหน้าจอได้ตามต้องการอย่างเสรี ผู้ใช้จะสามารถปรับขนาดไอคอนโดยตรงบนหน้า start screen มาพร้อมธีมสีสันใหม่ดูแล้วสดใสมีเอกลักษณ์
      
       ***มีอะไรใหม่อีก?
      
       Windows Phone 8 รองรับการซื้อสินค้าเสมือนในแอปพลิเคชัน (in-app purchase) แถมยังเพิ่มฟีเจอร์กระเป๋าเงินหรือ "wallet" เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเก็บข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญเพื่อเรียกใช้งานได้สะดวกและปลอดภัย
      
       ครั้งนี้ผู้ใช้วินโดวส์โฟนจะสามารถอัปเกรด Windows Phone 8 ได้จากเครื่องโดยตรง (over-the-air OS update) โดยไม่ต้องเชื่อมต่อสายจากเครื่องเข้าสู่เดสก์ท็อปเพื่ออัปเดทระบบอย่างเคย
      
       ที่สำคัญ สถาปัตยกรรมการทำงานของ Windows Phone 8 นั้นคาบเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมการทำงานของ Windows 8 ซึ่งออกแบบมาสำหรับทำงานบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและแท็บเล็ตมาก ซึ่งทำให้ผู้ใช้ Windows 8 สามารถจัดการเรื่องความปลอดภัย เกม เครือข่าย และการเล่นมีเดียระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์พกพาได้ดีขึ้น
      
       ***เมื่อไรผู้ใช้วินโดวส์โฟนจึงจะได้ใช้งาน Windows Phone 8?
      
       สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ที่มาพร้อม Windows Phone 8 จะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีนี้ (ราวไตรมาส 4) คาดว่าจะเริ่มวางจำหน่ายช่วงก่อน "เทศกาลจับจ่ายปลายปี" โดยอาจจะเริ่มเปิดตัวช่วงกันยายนก่อนจะจำหน่ายอย่างจริงจังช่วงคริสต์มาส
      
       แต่ข่าวร้ายสำหรับผู้เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนวินโดวส์โฟนในขณะนี้ คือผู้ใช้จะไม่สามารถอัปเดทจาก Windows Phone 7.5 ที่ใช้อยู่มาเป็น Windows Phone 8 ได้ ถือเป็นความจริงที่เจ็บปวดของผู้ซื้อวินโดวส์โฟนจากซัมซุง (Samsung) หรือลูเมีย (Lumia) ของโนเกีย ที่ต้องยอมรับว่า Windows Phone 8 ต้องการฮาร์ดแวร์ชนิดใหม่เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
start screen แบบเก่าใน Windows Phone 7.5 ของ Lumia 900
***ผู้ใช้วินโดวส์โฟนในขณะนี้จะทำอย่างไรได้บ้าง?
      
       ไม่ใช่แค่ทำใจ แต่ต้องร้องเพลงรอรับอัปเดทระบบซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไร
      
       สื่อต่างชาติวิจารณ์เรื่องนี้ในแง่ลบ บอกว่าไมโครซอฟท์นั้นโยน"กระดูกชิ้นเล็ก"ให้ลูกค้าผู้ใช้ Windows Phone 7.5 หรือที่มีชื่อเรียกว่า Mango ในขณะนี้ โดย Windows Phone 7.8 จะถูกเปิดให้ดาวน์โหลดต่อไป ยังไม่มีกำหนดการใดๆเกี่ยวกับ Windows Phone 7.8 ในขณะนี้
      
       ***แล้วโนเกียว่าอย่างไรบ้าง?
      
       โนเกียได้แต่ยืนยันแนวทางในการเสนอแอปพลิเคชันหลากหลายในโทรศัพท์ของตัวเอง โดยโนเกียพัฒนาแอปอย่าง Play To เพื่อให้ผู้ใช้วินโดวส์โฟนรุ่นปัจจุบันสามารถแชร์คอนเทนต์แบบไร้สายบนเทคโนโลยี DLNA ยังมีแอปพลิเคชันอย่าง Nokia Maps ซึ่งเพิ่มคุณสมบัติให้มีความอัจฉริยะกว่าเดิม และ Nokia Music 3.0 ซึ่งมีฟีเจอร์ Mix Radio เข้ามาเป็นสีสันในการฟังเพลง
      
       งานนี้โนเกียยังโชว์แอปพลิเคชันอย่าง Camera Extras ซึ่งทำให้ผู้ใช้โนเกียสามารถถ่ายภาพพาโนรามา รวมถึง GroupShot แอปถ่ายภาพหมู่ที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกภาพที่นางแบบยิ้มสวยที่สุดได้เร็วกว่าเดิม โดย Camera Extras จะพร้อมเปิดให้ผู้ใช้ในสหรัฐฯและจีนดาวน์โหลดช่วงวันที่ 22 มิถุนายนนี้ ก่อนจะเริ่มขยายสู่ประเทศอื่นๆในเดือนกรกฎาคมต่อไป
      
       นอกจากนี้ เกมของ Zynga อย่าง Words with Friends และ Draw Something จะพร้อมให้ผู้ใช้ Lumia ได้เล่นแล้วใน 2 เดือนนี้ โดยยังมีแอปพลิเคชันสำหรับตรวจตราข้อความและสายโทรเข้า ที่พร้อมให้ชาวโนเกียได้ดาวน์โหลดด้วย
      
       ***นักพัฒนาจะได้ SDK ไปพัฒนาต่อเมื่อไร?
      
       ไมโครซอฟท์จะให้รายละเอียดแก่นักพัฒนาในช่วงฤดูร้อนปีนี้ (ไตรมาส 3) คาดว่าจะเป็นช่วงเวลาที่นักพัฒนาจะได้รับ SDK ไปพัฒนาอย่างเป็นทางการ
      
       ***ใครจะผลิตสมาร์ทโฟน Windows Phone 8 บ้าง?
      
       5 พันธมิตรที่ใหญ่ที่สุดของไมโครซอฟท์ในขณะนี้คือซัมซุง โนเกีย เอชทีซี (HTC) หัวเว่ย (Huawei) และแซททีอี (ZTE) แต่เชื่อว่าเราจะได้เห็นสมาร์ทโฟนวินโดวส์จากผู้ผลิตรายอื่นอีก
      
       ก่อนหน้านี้ ซัมซุงและโนเกียเริ่มทำตลาดสมาร์ทโฟนไฮเอนด์และมิดเรนจ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7.5 ขณะที่หัวเว่ยและแซททีอีทำตลาดสมาร์ทโฟนวินโดวส์โฟนรุ่นที่มีราคาประหยัดสำหรับผู้เริ่มต้น เชื่อว่าเทรนด์นี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องเช่นเดียวกับบน Windows Phone 8
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ธีมสีสันใหม่ใน Windows Phone 8
***สมาร์ทโฟน Windows Phone 8 จะใช้ชิปประมวลผลแบบใด?
      
       เชื่อว่ารุ่นคุณภาพสูงจะใช้ชิปดูอัลคอร์ของ Qualcomm อย่าง Snapdragon S4 Plus ซึ่งสามารถทำความเร็วถึง 1.7GHz ขณะที่รุ่นราคารองลงมาจะใช้ชิปที่คุณภาพลดลงเพื่อให้สามารถทำราคาได้ครอบคลุมตลาดมากขึ้น
      
       ***สมาร์ทโฟน Windows Phone 8 รองรับ Skype ตั้งแต่โรงงานเลยไหม?
      
       ไม่ แอป VoIP สำหรับคุยโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างสไกป์ (Skype) ไม่ได้ถูกติดตั้งในเครื่องมาจากโรงงาน โดยผู้ใช้ต้องดาวน์โหลดเองจึงจะสามารถใช้งานได้ แต่ความพิเศษคือสไกป์และแอปพลิเคชันจากผู้ผลิตรายอื่นจะสามารถผสานรวมคุณสมบัติของแอปเข้ากับเมนูต่อสายโทรศัพท์ (phone-call menu) ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้จากหน้าเมนูโทรหรือ dialer โดยไม่ต้องเสียเวลาเปิดแอปพลิเคชันซ้ำอีก
      
       ***Windows Phone 8 ทำงานร่วมกับ NFC อย่างไร?
      
       ต้องบอกว่า Windows Phone 8 เป็นครั้งแรกที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟนรองรับการทำงานของชิป NFC คุณสมบัติหลักที่ผู้ใช้จะได้รับจาก NFC คือการ"แตะแล้วแชร์"
      
       ผู้ใช้ Windows Phone 8 จะสามารถเปิดเว็บไซต์โดยไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ที่อยู่ URL เพียงแค่แตะเครื่องเข้ากับจุดให้บริการ NFC ขณะเดียวกันก็สามารถรับข้อมูลอื่นๆได้สะดวก เช่น ตัวอย่างเมนูจากร้านอาหารที่ติดโปสเตอร์โฆษณาตามท้องถนน ขณะเดียวกันก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบริการชำระเงินด้วยโทรศัพท์มือถือซึ่งโอเปอเรเตอร์หลายรายในโลกเริ่มให้บริการแล้ว
      
       นอกจาก NFC ไมโครซอฟท์ยังชูคุณสมบัติ Wallet ที่ให้ผู้ใช้ Windows Phone 8 สามารถเก็บข้อมูลสำคัญส่วนตัวได้สไตล์เดียวกับ Passbook คุณสมบัติที่แอปเปิลเปิดตัวในระบบปฏิบัติการ iOS 6
      
       ***คนใช้ Windows Phone 8 จะพูดกับแอปพลิเคชันได้?
      
       ไมโครซอฟท์ได้สาธิต API ใหม่ในซอฟต์แวร์วิเคราะห์เสียงชื่อ TellMe ด้วย API นี้ นักพัฒนาจะทำให้แอปพลิเคชันสามารถตอบสนองคำพูดของผู้ใช้ได้
      
       เช่นในแอปพลิเคชันชื่อ Audible ผู้พัฒนา Audible ใช้ API นี้ของไมโครซอฟท์ในการสร้างแอปพลิเคชันสำหรับ Windows Phone เมื่อผู้ใช้เปิดโหมด command ไฟล์มัลติมีเดียก็จะสามารถเล่น พัก หยุด หรือข้ามเพลงไปได้เพียงผู้ใช้เอ่ยปาก
      
       จุดนี้ถือเป็นคุณสมบัติอนาคตไกลที่ทำให้นักพัฒนาทั่วไปสามารถนำ API นี้ไปปรับใช้กับแอปพลิเคชันของแต่ละคน แต่ที่ผ่านมา เทคโนโลยีวิเคราะห์คำสั่งเสียงนั้นมีปัญหาตลอดกาลอยู่ 2 จุด นั่นคือความไม่เสถียรในการทำงาน และการสิ้นเปลืองแบตเตอรี่อย่างรวดเร็ว ซึ่งทั้งหมดต้องคอยดูว่าสมาร์ทโฟน Windows Phone 8 จะทำได้ดีเพียงไร
      
       ขอบคุณข้อมูลจาก Cnet.com ผู้สนใจสามารถชมรายละเอียดของ Windows Phone 8 ได้จากด้านล่าง
      
       
       คัดลอก http://www.manager.co.th/cbizreview/viewnews.aspx?NewsID=9550000076269

Nokia เตรียมแผนลับสำรองไว้ หาก Windows Phone ไม่ work


IntoMobile ให้ข่าวว่า Risto Siilasmaa ประธานบริษัท Nokia ได้ให้สัมภาษณ์ทีวีประเทศฟินแลนด์ว่า Nokia มีแผนสำรองฉุกเฉินเตรียมไว้แล้ว กรณีที่ Windows Phone เกิดไม่ประสบความสำเร็จขึ้นมา  แต่ Siilasmaa ก็คาดหวังเต็มที่ว่า Windows Phone จะเข้าเป้า แถมยังชมว่า Stephen Elop, CEO Nokia มีสไตล์การบริหารที่ดีและโปร่งใส
อย่างไรก็ดีประธานบริษัทผู้นี้ไม่ได้แจ้งว่าแผนสำรองฉุกเฉินมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง แต่ทาง IntoMobile เชื่อว่าเป็นแผนการขายบริษัทให้กับผู้ผลิตโทรศัพท์ที่ใหญ่กว่า แม้ว่า Microsoft อาจจะเป็นไปได้ก็ตาม แต่คาดว่า Samsung น่าจะเป็นผู้ซื้อที่ดูสมเหตุสมผลมากกว่า
… คงต้องมาดูว่าไพ่ใบสุดท้ายที่จะเปิดออกมา จะพลิกเกมของ Nokia ให้กลับมาผงาดได้อีกหรือไม่
คัดลอก http://www.7boot.com/tag/windows-phone/

Windows Phone 7.5 Mango ฉบับคนเพิ่งใช้ครั้งแรก


ผู้อ่าน Blognone คงทราบกันดีว่า โนเกียกำลังจะขายมือถือ Lumia ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Phone อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการทำตลาด Windows Phone อย่างจริงจังครั้งแรกในไทยด้วย (นอกเหนือไปจาก Windows Phone รุ่นแรกที่จับตลาดเฉพาะ early adopter เมื่อปีที่แล้ว)
ตัวแทนของโนเกียส่ง Lumia 710 มาให้ผมรีวิวเรียบร้อย ซึ่งคิดไปคิดมาแล้ว หลายๆ คนน่าจะเป็นแบบเดียวกันกับผม คือเพิ่งเคยใช้ Windows Phone เป็นครั้งแรก และอาจยังนึกภาพไม่ออกว่าการใช้งานจริงๆ มันเป็นอย่างไรบ้าง
ดังนั้นรีวิวชุดนี้จะแยกเป็น 2 ตอนคือ ส่วนของ Windows Phone 7.5 Mango ในตอนนี้ และส่วนของฮาร์ดแวร์ Lumia 710 + ซอฟต์แวร์ของโนเกีย ในตอนหน้านะครับ
หมายเหตุ: เนื่องจาก Windows Phone 7.5 ยังไม่รองรับการจับภาพหน้าจอโดยไม่ unlock เครื่อง และเนื่องจากมันเป็นเครื่องขอยืมมา ผมก็ไม่สามารถจับภาพหน้าจอด้วยตัวเองได้ ภาพประกอบในบทความนี้จึงใช้วิธีถ่ายรูปเอา (เว็บเมืองนอกก็ใช้แบบนี้กันเกือบหมด) หรือไม่ก็ใช้ภาพ press image จากเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์-โนเกียแทน

เริ่มต้นกับ Windows Phone

Blognone รายงานข่าวเรื่อง Windows Phone กันมาเยอะมากแล้ว คงไม่ต้องเท้าความไปถึงแนวคิดหรือที่มาที่ไปของ Windows Phone และ Metro UI กันอีกแล้ว เราเข้าไปที่การใช้งานจริงกันเลยดีกว่าครับ
การใช้งาน Windows Phone เริ่มจากหน้า lock screen ซึ่งไม่มีอะไรต่างไปจาก lock screen ของระบบปฏิบัติการอื่นๆ มากนัก นั่นคือมีภาพพื้นหลัง นาฬิกา วันที่ และการแจ้งเตือนอื่นๆ เช่น อีเมล นัดหมาย สายที่โทรเข้ามา ฯลฯ
การปลดล็อคหน้าจอทำโดยสไลด์หน้าจอขึ้นไปด้านบน จากนั้นเราจะพบกับหน้าจอ Start ซึ่งประกอบด้วย Live Tiles เรียงกันลงไปในแนวบน-ล่าง
ทุกครั้งที่เรากดปุ่ม Start บนตัวเครื่องมือถือ มันจะพาเรากลับมายังหน้าจอ Live Tiles นี้เสมอ
ที่มุมขวาบนของหน้าจอ Start มีลูกศรชี้ไปทางขวามือ กดแล้วจะเห็นรายการแอพทั้งหมดภายในเครื่อง เรียงลงไปตามแนวบน-ล่างเช่นกัน
สรุปว่าหน้าจอพื้นฐานของ Windows Phone มีเพียงแค่ 2 จอเท่านี้ คือ หน้าจอซ้ายสำหรับแอพที่ใช้บ่อยๆ ก็ปักเป็น Tiles เอาไว้ ส่วนหน้าจอขวาก็เอาไว้เรียกแอพที่นานๆ ใช้ที เราสามารถปาดซ้าย-ขวาเพื่อสลับไปมาระหว่างสองหน้าจอนี้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องกดปุ่มลูกศรเสมอไป
สำหรับคนที่คุ้นกับระบบปฏิบัติการหน้าจอเยอะๆ แบบ Android อาจรู้สึกแปลกๆ กับหน้าจออันน้อยนิดของ Windows Phone บ้าง แต่ก็ไม่มีปัญหาอันใดต่อการใช้งานครับ

Live Tiles

Live Tiles ถือเป็นจุดขายหลักของ Windows Phone เลยก็ว่าได้ แนวคิดของมันเป็นลูกผสมระหว่างไอคอนกับ widget ทำหน้าที่ทั้งเป็นช็อตคัตของแอพ และแสดงการแจ้งเตือนต่างๆ จากแอพตัวนั้น
ไม่ใช่ Tiles ทุกตัวที่สามารถแสดงข้อมูลได้ บางตัวเป็นแค่ไอคอนเท่านั้น ตัวอย่างเช่น IE หรือ Settings พวกนี้เป็นแค่ไอคอนที่ช่วยให้เราเรียกแอพได้สะดวก
โดยรวมแล้ว Tiles ทำงานตอบโจทย์การใช้งานได้ดี แนวคิดดูแปลกใหม่ แต่ข้อติก็คือการวางหน้าจอ Tiles ของไมโครซอฟท์ยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก เพราะจากภาพจะเห็นว่าหน้าจอปกติแสดง Tiles ได้ประมาณ 8 อัน (Tiles อันล่างๆ ถูกตัดตกขอบไปสักเล็กน้อยด้วย) ทำให้คนที่มี Tiles แบบแจ้งเตือนเยอะๆ ต้องเลื่อนลงไปดูข้อมูลอยู่บ่อยๆ
ผมคิดว่าถ้าไมโครซอฟท์ปรับหน้าจอ Tiles ให้แต่ละตารางมีขนาดเล็กลง และยัดข้อมูลมาได้สัก 3 คอลัมน์ น่าจะช่วยให้การใช้หน้าจอมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ครับ (แต่ก็ต้องแลกมาด้วยหน้าจอที่ซับซ้อนขึ้นล่ะนะ)
ปัญหาอีกประการหนึ่งของ Windows Phone ที่ไมโครซอฟท์ควรใช้ Tiles ช่วยคือ Windows Phone ไม่มีวิธีเปิด-ปิดฟีเจอร์ที่ใช้บ่อย เช่น Wi-Fi, 3G, Bluetooth, GPS แบบง่ายๆ ต้องเข้าไปยังหน้า Settings เท่านั้น
ปัญหานี้ Android แก้โดยแนบ Toggle Widget มาให้เลย ช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นมาก กรณีของ Windows Phone สามารถทำแบบเดียวกันโดยเพิ่ม Tiles สำหรับตั้งค่าพวกนี้มาให้ด้วย แต่ไมโครซอฟท์ก็ยังไม่ทำเรื่องนี้ใน Mango ต้องใช้วิธีโหลดแอพภายนอกมาติดตั้งเอาเอง (ใน Marketplace มีแอพ Cellular Data ที่ไมโครซอฟท์ทำเองให้หนึ่งตัว ถ้าอยากเปิดปิดอย่างอื่นต้องหากันเอง)

App List

หน้าจอรายชื่อแอพนั้นตรงไปตรงมามาก คือมีรายชื่อแอพพร้อมไอคอน แสดงเรียงตามตัวอักษรยาวลงไปเรื่อยๆ เท่าจำนวนแอพที่เราติดตั้งไว้ในเครื่อง
ไมโครซอฟท์คงไม่อยากให้ระบบปฏิบัติการซับซ้อน เลยไม่ให้วิธีจัดกลุ่มรายการแอพใดๆ มาให้เลย ดังนั้นถ้าอยากเรียกแอพแบบรวดเร็วก็ต้องปักหมุดไว้ใน Tiles หรือจะกดปุ่มค้นหาที่มุมซ้ายบน แล้วพิมพ์ชื่อแอพเอาก็ได้
ผมคิดว่าทั้งสองวิธีนี้ยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเต็มที่นัก เพราะบางทีเรานึกชื่อแอพไม่ออก จะพิมพ์หาก็คงใช้ไม่ได้ทุกครั้งไป ส่วนการปักหมุดใน Tiles ก็อย่างที่บอกคือเวลา Tiles เริ่มยาวๆ ก็ต้องเลื่อนหาเยอะอยู่ดี
วิธีการปักหมุดเป็น Tiles ให้เรากดค้างไว้ที่รายชื่อแอพ จะมีคำสั่ง pin to start โผล่ขึ้นมา (ในกรณีที่เป็นแอพที่เราติดตั้งเองผ่าน Marketplace จะมีคำสั่ง rate/review และ uninstall เพิ่มเข้ามาด้วย)

การสลับแอพ

การสลับแอพที่เปิดอยู่ ให้ใช้วิธีกดปุ่ม Back ค้างเอาไว้เพื่อเข้าหน้าจอ multitasking ซึ่งจะแสดง thumbnail ของแอพที่เปิดอยู่ขึ้นมา เลื่อนซ้ายขวาเพื่อสลับไปยังแอพที่ต้องการ (คล้ายกับ webOS แต่ปัดขึ้นเพื่อปิดแอพแบบ webOS ไม่ได้)
การปิดแอพเหมือนกับ Android/iOS คือไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับมัน ระบบปฏิบัติการจัดการให้เองทั้งหมดครับ ซึ่งกรณีของ Windows Phone ผมลองแล้วพบว่าจัดการเรื่องประสิทธิภาพได้ค่อนข้างดีกว่า Android มาก เนื่องจากมีแอพเพียงบางตัวเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานอยู่เบื้องหลัง ดังนั้นจะเปิดแอพมากหรือน้อยก็ไม่ค่อยมีผลกับระบบสักเท่าไร
การทำงานของ Windows Phone ลื่นไหลมาก แอนิเมชันสวยงาม ตรงนี้คงไม่กล่าวถึงเยอะ ใครอยากเห็นก็หาวิดีโอหรือของจริงดูกันเองได้ไม่ยาก

Status Bar

Windows Phone ไม่มี status bar ที่แสดงผลค้างเอาไว้ด้านบนของหน้าจอเหมือนกับ Android/iOS และนี่เป็นสิ่งที่น่าหงุดหงิดมากอย่างหนึ่ง
status bar ของ Windows Phone มีด้วยกัน 3 โหมด คือ
  1. ไม่แสดง status bar เลย
  2. แสดงเฉพาะนาฬิกาที่มุมขวาบน
  3. แสดงข้อมูลครบ ทั้งสัญญาณมือถือ ไอคอนต่างๆ และแบตเตอรี่
ปัญหาของ Windows Phone คือรูปแบบของ status bar แตกต่างกันออกไปตามแต่ละหน้าจอครับ เท่าที่ผมสังเกตได้ ถ้าเข้าแอพตระกูล Hub ทั้งหลาย จะไม่แสดง status bar เลย (ไม่เสมอไป) แต่ถ้าเป็นหน้าจอทั่วๆ ไปมักแสดงเฉพาะนาฬิกา
ส่วน status bar แบบเต็ม เราสามารถสั่งให้มันโผล่ขึ้นมาโดยเอานิ้วกดตรงนาฬิกาแล้วปัดลงมา เราจะเห็นข้อมูลสถานะต่างๆ ครบถ้วนอยู่ระยะหนึ่ง แล้วมันปิดกลับไปเป็นแค่นาฬิกาเหมือนเดิม
การทำงานแบบนี้ไม่เวิร์คอย่างแรง เพราะเรามักต้องการรู้ว่าตอนนี้ต่อเน็ตอยู่หรือไม่ สัญญาณ Wi-Fi เป็นอย่างไร แบตใกล้หมดหรือยัง ฯลฯ ซึ่งผมคิดว่าแสดงค้างไว้แบบระบบปฏิบัติการอื่นๆ ดีกว่า และไม่ได้เปลืองที่อะไรมากมายนัก

Notification

สำหรับการแจ้งเตือนเหตุการณ์ต่างๆ เช่น SMS เข้า, อีเมลใหม่, นัดหมาย ฯลฯ ตามปกติแล้วจะแสดงบน Tiles โดยตรง
แต่ในเหตุการณ์สำคัญบางกรณี เช่น SMS เข้า หรือมีคนแชทมาหาเรา มันจะขึ้นแถบแจ้งเตือนที่ขอบด้านบนของทุกหน้าจอในตอนนั้น ดังภาพ
กดแล้วจะเข้าไปยังหน้าจอของแอพที่แจ้งเตือนเรามาด้วย ไม่ต่างอะไรกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ

Metro Apps

หมดเรื่องของการทำงานพื้นฐานของตัวระบบ มาดูส่วนของแอพกันบ้างนะครับ
แอพของ Windows Phone ส่วนใหญ่ออกแบบด้วย Metro UI ที่ใช้การเลื่อนหน้าจอไปด้านซ้ายหรือขวาเรื่อยๆ (เลื่อนเป็นวงกลม คือสุดด้านใดด้านหนึ่งแล้ววนกลับ)
จริงๆ แล้วการออกแบบแอพลักษณะนี้เหมือนกับ "แท็บ" เพียงแต่ดีไซน์ให้สวยหน่อยตามสไตล์ Metro เท่านั้น เท่าที่ใช้แอพลักษณะนี้มา ผมว่าเข้าใจง่ายดี คือแอพทุกตัวใช้ UI คล้ายๆ กันหมดทำให้เราคุ้นกับการเลื่อนซ้าย-ขวาไปเรื่อยๆ เวลาเข้าไปในตัวแอพ (มีแอพบางตัวเหมือนกันที่ไม่ใช้ UI แบบนี้ เช่น IE หรือ เครื่องคิดเลข แต่แอพสำหรับงานเฉพาะทางแบบนี้ก็คงทำหน้าตาที่ต่างออกไปลำบาก)
จุดที่อาจปรับปรุงได้อีกหน่อยคือ แอพลักษณะนี้ใช้พื้นที่สำหรับแสดงข้อความตรงส่วนหัวมากไปหน่อย (ชื่อแอพและแท็บ) ทำให้เหลือพื้นที่แสดงผลจริงน้อยลง
อีกประเด็นที่ผมใช้แล้วไม่ค่อยชอบ คือ "ทูลบาร์" สำหรับปุ่มสั่งงานต่างๆ ของแอพบน Windows Phone ที่วางไว้ขอบด้านล่างสุดของจอ ทูลบาร์เหล่านี้แสดงเฉพาะไอคอนของปุ่มเท่านั้น ปัญหาอยู่ที่ว่ามันดูไม่ออกว่าเป็นปุ่มอะไรในหลายๆ ครั้ง (โดยเฉพาะพวกไอคอนแปลกๆ) ซึ่งเราต้องกดตรงไอคอน ... ทางขวามือ มันจะแสดงคำอธิบาย (label ของปุ่ม) ขึ้นมาให้เห็น พร้อมกับคำสั่งอื่นๆ (ถ้ามี) เพราะ Windows Phone อนุญาตให้วางปุ่มคำสั่งแค่ 4 ปุ่มเท่านั้น

Settings

หน้าจอ Settings ของ Windows Phone แบ่งออกเป็น 2 แท็บ คือ เซ็ตค่าของระบบ และเซ็ตค่าของแอพพลิเคชันที่มากับระบบ (แอพลงเองก็ไปเซ็ตแยกกันเองในแอพแต่ละตัว)
สำหรับหน้าจอตั้งค่าคงไม่มีอะไรซับซ้อนมาก เป็นค่าแต่ละหมวดเรียงลงไป (ไม่เรียงตามตัวอักษร) ที่ใช้บ่อยหน่อยคงเป็นการเปิดปิดฟีเจอร์ต่างๆ ของฮาร์ดแวร์
ส่วนที่น่าสนใจคือธีม (Theme) ที่สามารถเปลี่ยนสีพื้นหลังได้ 2 แบบ (ขาว-ดำ) และเปลี่ยนสีไฮไลต์ (Accent Color) ซึ่งเป็นพื้นหลังของ Tiles และปุ่มต่างๆ ได้อีกจำนวนหนึ่ง
อีกหน้าจอที่น่าสนใจคือ email+account ที่ให้เราตั้งค่าบัญชีอีเมลหรือ social network ต่างๆ
เรื่องบัญชีอีเมลคงไม่ต่างอะไรกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ คือป้อนข้อมูลแล้วใช้งานได้ทันที ที่น่าสนใจกว่าคือบัญชี social network ที่รองรับทั้ง Windows Live, Facebook, Twitter, LinkedIn มาตั้งแต่แรก (จะกล่าวต่อไปในส่วนของ People Hub)

Hub

นอกเหนือจากเรื่อง Live Tiles ที่เป็นจุดขายหลักของ Windows Phone แล้ว ก็คงต้องยกให้กับแนวคิดเรื่อง Hub ที่โดดเด่นและยังหาระบบปฏิบัติการอื่นมาเทียบเคียงได้ยาก
แนวคิดการออกแบบ Hub ของ Windows Phone คือการผนวกรวมเครือข่ายสังคมและบริการออนไลน์ต่างๆ เข้ามารวมกันที่ตัวระบบปฏิบัติการ โดยตัวระบบปฏิบัติการจะแยกตาม "ลักษณะงาน" ให้ (เช่น รูปภาพ เกม สถานะ) แต่รวมเครือข่ายที่ต่างกันเข้ามาไว้ที่เดียวกัน (เช่น ภาพจาก SkyDrive กับภาพจาก Facebook อยู่ใน Pictures Hub ด้วยกัน)
การใช้งานทั้งหมดทำผ่านตัว Hub เลย ไม่ต้องลงแอพของเครือข่ายเหล่านี้แยกต่างหาก (ถ้าอยากลงก็ลงได้นะครับ) ซึ่ง Hub ก็ตอบสนองงานพื้นฐานเกือบหมดอยู่แล้ว ถ้าไม่ต้องการฟีเจอร์อะไรมากมาย ก็สามารถใช้ Windows Phone เท่าที่ไมโครซอฟท์ให้มาโดยไม่ต้องลงแอพเพิ่มเลย
การประสานงานระหว่างเครือข่ายต่างๆ ของ Windows Phone ถือว่าทำออกมาได้ดีมาก ระบบปฏิบัติการคู่แข่งอย่าง webOS หรือ Android มีแนวคิดลักษณะนี้อยู่บ้าง แต่ก็จำกัดเฉพาะอีเมลและสมุดที่อยู่เท่านั้น ในขณะที่ Windows Phone รองรับไปถึงรูปภาพ เกม เพลง ฯลฯ ด้วย
เครือข่ายสังคมที่ไมโครซอฟท์รองรับแน่ๆ คือตระกูล Windows Live, Zune และ Xbox Live ของตัวเอง (และถ้าใช้ระบบเมลองค์กรของไมโครซอฟท์จะได้พวก Exchange กับ Lync มาด้วย) นอกจากนี้ยังรองรับเครือข่ายยอดนิยมอย่าง Twitter, Facebook, LinkedIn มาให้
เครือข่ายของค่ายคู่แข่งอย่างกูเกิลก็รองรับพอประมาณคือ Gmail, Contacts และ Calendar แต่ถ้าอยากได้พวก Picasa, YouTube, Google+ ด้วยก็ต้องรอกูเกิลทำให้สถานเดียวเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของ Hub ใน Windows Phone อยู่ที่มันรองรับเครือข่ายสังคมฮิตๆ บางอันเท่านั้น และผมเข้าใจว่าไมโครซอฟท์ไม่ได้เปิด API สำหรับแอพภายนอกอื่นๆ มาเรียกใช้มากนัก (ถ้าผิดแก้ด้วยนะครับ) ดังนั้นถ้าเราอยากใช้เครือข่ายสังคมหรือบริการอื่นๆ มาร่วมด้วย เช่น เชื่อมระบบเพลงจาก iTunes หรือ Last.fm, ภาพจาก Flickr หรือ Picasa, เกมจาก PSN หรือ OpenFient, เช็คอินบน Foursquare, ไฟล์เอกสารจาก Google Docs หรือ Zimbra พวกนี้หมดสิทธิ์แน่ๆ 100% ต้องรอบริษัทเหล่านี้ทำแอพให้ และไปใช้งานแยกในแอพพวกนี้เท่านั้น
ทีนี้มาดูรายละเอียดกันทีละ Hub ดีกว่าครับ

People Hub

People Hub คือจุดที่โดดเด่นที่สุดของ Windows Phone ถ้าให้อธิบายง่ายๆ มันคือ สมุดที่อยู่ + แอพ social network จำพวก Tweetdeck
ส่วนของสมุดที่อยู่คงไม่มีอะไรแปลกกว่าปกติ ใช้แนวคิดรวมเพื่อนคนเดียวกันจากเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน (ผมเข้าใจว่าค่ายแรกที่ทำแบบนี้คือ Synergy ของ webOS)
สำหรับกรณีของ Windows Phone รวมได้ทั้งจากสมุดที่อยู่ตามเบอร์โทรปกติ, Windows Live, Facebook, Twitter, Google Contacts, Outlook, LinkedIn (ของ Yahoo! ก็น่าจะได้ครับแต่ไม่ได้ลอง)
หน้ารายการเพื่อนสามารถพิมพ์เพื่อค้นหาได้ หรือกดที่ตัวอักษรของแต่ละหมวดหมู่ เพื่อกระโดดไปยังหมวดที่ต้องการก็ได้ (ฟีเจอร์นี้สะดวกดีมาก)
เรายังสามารถเลือกเชื่อมบัญชีเพื่อนเข้าด้วยกัน (linked profile) ได้เองด้วย และการที่ไมโครซอฟท์มีสายสัมพันธ์อันดีกับ Facebook ทำให้การเชื่อมสมุดที่อยู่เข้ากับเพื่อนใน Facebook ทำได้ทันที ง่ายกว่าของ Android มาก
เมื่อเพื่อนของเราอัพเดตสถานะในเครือข่ายที่เชื่อมเอาไว้ มันจะแสดงขึ้นมาในแท็บ What's New ของเพื่อนคนนั้นด้วย (ตรงนี้เป็นจุดที่กูเกิลลอกไปใช้ในแอพ People ของ ICS ที่มาแทน Contacts ทั้งหมดใช้แนวคิดเดียวกัน)
แต่ทั้งหมดที่กล่าวไปนั้นเป็นแค่ครึ่งหนึ่งของ People Hub เพราะความเจ๋งของมันอยู่ที่ว่า พอเราเข้าแอพ People Hub แล้ว จะมีแท็กที่เรียกว่า What's New ซึ่งเปรียบได้กับ timeline ของเพื่อนๆ เราทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นการอัพเดตใน Facebook/Twitter หรือเครือข่ายอื่นๆ ก็ตาม มันแสดงรวมมาให้เราทั้งหมด (เลือกแสดงเฉพาะบางเครือข่ายก็ได้นะครับ) และเราสามารถกดไลค์ ตอบคอมเมนต์ รีทวีต ได้จากหน้าจอนี้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องลงแอพ social network อื่นๆ แต่อย่างใด
เท่านั้นยังไม่พอครับ ใน Windows Phone Mango ยังมีฟีเจอร์ใหม่อีกอย่างหนึ่งคือ group หรือการจัดกลุ่มเพื่อนๆ เข้าด้วยกันตามต้องการ
สมุดที่อยู่บนมือถือสามารถจัดกลุ่มเพื่อนได้มานานแล้ว แต่พอมันมาอยู่บน People Hub ที่รองรับฟีเจอร์ด้าน social network ในตัว ทำให้มันมีสถานะกลายเป็น list ของ Facebook/Twitter ไปด้วย
นี่แปลว่าเราสามารถกรองดูสถานะอัพเดตของเพื่อนเฉพาะกลุ่มได้โดยตรงจากตัวระบบปฏิบัติการเลย ยิ่งไปกว่านั้น ผมสามารถปักหมุดกลุ่มเพื่อนนี้ไว้บน Live Tiles ได้ด้วย เจ๋งไหมล่ะครับ?

Me Hub

People Hub ทำหน้าที่แสดงผลแค่ timeline หรือ stream ของเพื่อนๆ เราเท่านั้น ถ้าเราอยากดูข้อความที่ส่งมาหาเรา (mentions ของ Twitter หรือ notifications ของ Facebook) เราต้องใช้แอพอีกตัวที่อยู่ใน People Hub ที่เรียกว่า Me (ตัวฉัน) ซึ่งปักไว้ที่ Live Tiles ให้อยู่แล้วด้วย
Me แบ่งออกเป็น 3 ส่วน (ดูภาพประกอบ) ได้แก่
  • Profile - สถานะล่าสุดของเราเอง, ปุ่มโพสต์ข้อความ (Windows Live/Facebook/Twitter), ปุ่มเช็คอิน (Facebook), ปุ่มเซ็ตข้อความสถานะ (WLM)
  • Notifications - มันคือ notifications ของ Facebook รวมกับ mentions ของ Twitter)
  • What's New - stream/timeline ของเราเอง ที่โพสต์ลงเครือข่ายสังคมต่างๆ
จะเห็นว่าถ้าเราใช้งาน People Hub กับ Me ควบคู่กันไป มันคือ social network client ที่รองรับทั้ง Facebook และ Twitter ในตัว มาพร้อมกับตัวระบบปฏิบัติการเลย ถ้าไม่ต้องการฟีเจอร์อะไรมาก ก็อาจไม่ต้องลงแอพของเครือข่ายพวกนี้เลยด้วยซ้ำ
หมายเหตุ: แต่ People Hub ก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่อาจต้องพึ่งแอพเฉพาะกิจอยู่บ้างนะครับ เช่น มันไม่สามารถแสดง retweet หรือ จำนวนคนกดไลค์ หรือการกดไลค์คอมเมนต์ได้ เป็นต้น แต่โดยรวมแล้วพอใช้สำหรับงานพื้นฐานส่วนใหญ่แล้วล่ะครับ

Pictures Hub

คนที่เคยใช้ Android มาคงคุ้นกับแอพ Gallery ที่มันไปดึงอัลบั้มภาพจาก Picasa ของเรามาให้ด้วย
Pictures Hub ก็เหมือนกัน มันคือ Gallery เวอร์ชันที่ดึงภาพจาก SkyDrive และ Facebook Albums มาให้เลย (บอกแล้วว่าไมโครซอฟท์นั้นใกล้ชิดกับ Facebook จริงๆ) อย่างไรก็ตาม มันยังจำกัดเฉพาะ SkyDrive กับ Facebook เท่านั้น ยังไม่รองรับอัลบั้มภาพจาก Flickr (แม้จะมีแอพ Flickr บน WP ก็ตาม) หรือ Picasa
นอกจากการแสดงอัลบั้มภาพทั้งออนไลน์และออฟไลน์แล้ว มันยังแสดงอัพเดต "ภาพใหม่" ที่เพื่อนๆ ของเราโพสต์ลง Facebook หรือ Windows Live ด้วย ซึ่งตรงนี้เหมือนกับหน้า What's New ของ People Hub (และแยกกลุ่มได้ด้วย)
Windows Phone รองรับการแชร์ภาพไปยังเครือข่ายอื่นๆ แบบเดียวกับ Android เพียงแต่สนิทชิดเชื้อกับ Facebook เป็นพิเศษ มีคำสั่งแชร์ไปยัง Facebook ให้โดยตรงในเมนู (อันนี้เปลี่ยนได้)
ฟีเจอร์เล็กๆ อีกอันที่ผมชอบคือ favorites หรือการเลือกรูปภาพที่ชอบ ภาพพวกนี้จะถูกนำไปแสดงเป็นภาพพื้นหลังใน Pictures Hub หรือแสดงใน Live Tiles ตรงนี้ช่วยให้เรากำหนดภาพสวยๆ มาแสดงเป็นพื้นหลังได้ ไม่ใช่เป็นการแสดงภาพแบบสุ่ม (ที่ภาพจากกล้องมือถือส่วนมากมักไม่สวย)
สิ่งที่น่าติมากๆ ของ Pictures Hub คือเราไม่สามารถเลือกรูปภาพพร้อมๆ กันหลายภาพเพื่ออัพโหลดไปทีเดียวได้ ต้องนั่งอัพโหลดทีละภาพเท่านั้น (ลำบากโคตร) เป็นสิ่งที่หวังว่าไมโครซอฟท์จะรีบปรับปรุงในเวอร์ชันต่อๆ ไป

Music+Videos Hub

แอพเล่นมัลติมีเดียของ Windows Phone ชื่อว่า Music+Videos Hub ซึ่งก็ตรงตามชื่อคือรวมทั้งเพลงและวิดีโอไว้ในตัว
แอพตัวนี้เชื่อมโยงกับ Zune ค่อนข้างมาก ทั้งตัวโปรแกรม Zune Desktop บนพีซี และ Zune Marketplace บริการขายเพลงออนไลน์ของไมโครซอฟท์
การใช้งานค่อนข้างตรงไปตรงมา (เล่นเพลง-หนัง) แต่ที่ผมชอบคือมันสแกนเพลงของเรา แล้วดึงภาพศิลปินจากอินเทอร์เน็ตมาเป็นพื้นหลังให้ด้วย ช่วยให้โปรแกรมดูดีขึ้นอีกหลายเท่าตัว!
ที่น่าสนใจหน่อยคงมีแค่ภาพพื้นหลังของหน้า lock screen ตอนเรากำลังเล่นเพลงด้วย Zune เปลี่ยนเป็นภาพศิลปินคนนั้นๆ ที่ Zune ดึงจากอินเทอร์เน็ตมาให้เราอัตโนมัติ ทำให้ดูหรูหราไฮโซขึ้นมาก
สิ่งที่น่าเสียดายคงเป็นว่า Music+Video Hubs เชื่อมโยงได้แค่ Zune ของไมโครซอฟท์เท่านั้น บริการเพลงออนไลน์อื่นๆ หมดสิทธิ์ (ถ้าซื้อ Zune Pass โหลดเพลงไม่จำกัดก็คงมันส์ไปอีกแบบ)

Office Hub

โปรแกรมที่หลายคนอยากให้มีบนมือถือแน่ๆ คือ Microsoft Office ซึ่ง Windows Phone ก็ตอบสนองความต้องการนี้ให้ (บางส่วน)
Microsoft Office บน Windows Phone ถูกเรียกตรงตัวว่า Office Hub มันรวมเอาเอกสารไว้ให้เราดังนี้
  • เอกสารบนมือถือ
  • เอกสารบน SkyDrive
  • เอกสารบน Office 365
  • เอกสารจาก SharePoint
ส่วนประเภทของเอกสารที่รองรับก็มี Word, Excel, PowerPoint และโน้ตจาก OneNote มาใช้เป็น to-do list และการจดโน้ตทั่วไป
เท่าที่ลองใช้ดู Office บน Windows Phone สามารถแสดงเอกสาร Word ภาษาไทยได้ถูกต้อง แก้ไขได้นิดหน่อย (แก้ข้อความเป็นหลัก แก้ฟอร์แมตได้บ้างแต่ไม่สะดวกนัก) ส่วน Excel ไม่ได้ลองแต่เท่าที่เข้าใจคือสามารถแก้สูตรได้ด้วย

Games Hub

ไมโครซอฟท์ใช้ประโยชน์ของแบรนด์ Xbox และฐานผู้เล่นจำนวนมากให้เป็นประโยชน์ เกมจำนวนมากบน Windows Phone ที่แปะตรา Xbox มาด้วยจะรองรับฟีเจอร์ออนไลน์ของ Xbox Live พวก avatar, achievements, leaderboard, gamer tag มาให้ด้วย ถือเป็นฟีเจอร์ที่สะดวกถ้าหากว่าเราเล่น Xbox Live อยู่แล้วครับ (ผมไม่มี Xbox ก็ต้องเล่นแบบเหงาๆ ไปคนเดียว)

E-mail

แอพอีเมลของ Windows Phone มีฟีเจอร์มาตรฐานทั่วไป อ่านเมลได้ ตอบเมลได้ เลือกแสดงเมลตามสถานะ unread/flag ได้
ฟีเจอร์ที่ยังขาดไปคือ การเลือกเมลว่าเป็นสแปม และการแสดงไฟล์แนบแบบ inline ส่วนฟีเจอร์พิเศษของ Gmail อย่างพวก priority inbox อะไรแบบนี้ไม่มีแน่นอน
แอพอีเมลรองรับการแยกบัญชีอีเมล (โดยใช้อินเทอร์เฟซแบบเดียวกันหมด) บัญชีที่รองรับได้แก่ Hotmail, Exchange, Office 365, Yahoo!, Google และ POP/IMAP ทั่วไป เมื่อเราสร้างบัญชีแต่ละอันแล้ว จะเห็นแอพของบัญชีนั้นๆ โผล่ขึ้นมาใน App List และเราสามารถปักไอคอนแต่ละอันไว้บน Live Tiles ได้
ฟีเจอร์เจ๋งที่เพิ่มเข้ามาใน Mango คือ Linked Inbox หรือการเชื่อมบัญชีอีเมลมากกว่าหนึ่งอันเข้าด้วยกันได้ ตรงนี้สะดวกกว่า Universal Inbox ที่บังคับรวมอีเมลทุกบัญชีเข้าด้วยกัน เพราะเราสามารถจับคู่เลือกบัญชีบางส่วนเข้ากันได้อย่างอิสระ (เปลี่ยนชื่อ Linked Inbox ได้อีกต่างหาก)

Messages

ไมโครซอฟท์รวมการสนทนาผ่าน SMS และการแชทผ่าน IM เข้าด้วยกันตามสมัยนิยมเป็นแอพ Messages
ตอนนี้ยังรองรับเฉพาะ Windows Live Messenger และ Facebook Chat เท่านั้น ใครอยากใช้ Google Talk หรือ Whatsapp ก็ต้องไปหาแอพเอาเอง

Calendar

แอพปฏิทินไม่มีอะไรพิสดารเช่นกัน แสดงโหมด agenda, to-do, today, month (แต่ไม่มีแบบ week) และรองรับปฏิทินที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตได้
มันสามารถเชื่อมต่อกับปฏิทินของ Windows Live, Exchange, Google Calendar และ Facebook Events ได้ แยกสีระหว่างกันได้
หมายเหตุ: คนที่ใช้ Google Calendar โดยมีปฏิทินหลายอันแบบผม ต้องเข้าไปเซ็ตค่าในฝั่งของกูเกิลเสียก่อน จึงจะเห็นปฏิทินทั้งหมด (ถ้าไม่เซ็ตจะเห็นแค่ปฏิทินหลักแค่อันเดียว) รายละเอียดดูได้จาก Microsoft Support

Internet Explorer

ไมโครซอฟท์อัพเดต IE ใน Mango ให้เป็น IE9 Mobile ที่มีความสามารถดีขึ้นกว่า IE ใน Windows Phone รุ่นแรก
 
การใช้งานคงไม่ต่างอะไรจากเบราว์เซอร์บนมือถือทั่วไปครับ มันรองรับการแสดงผลหลายแท็บ (สูงสุด 6 แท็บ) และสามารถปักหมุดเว็บเพจไว้บน Tiles ได้
การเปิดแท็บทำได้ลำบากเล็กน้อยเพราะต้องเปิดเมนู tabs ขึ้นมาก่อนเสมอ (ไม่มีแท็บจริงๆ ให้กดเลือกง่ายๆ)
มันไม่รองรับ Flash (และคาดว่าคงไม่มีวันนั้น) และภาษาไทยเข้าขั้นใช้ไม่ได้เลย อันนี้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจาก "ทำใจ" รอไมโครซอฟท์แก้ไขให้ในรุ่นหน้า หรือไม่ก็เปลี่ยนไปใช้แอพ CoreSharp BrowserThai พอแก้ขัดได้บ้างเป็นบางเว็บ (Blognone ยังเปิดแล้วไม่เห็นตัวอักษรภาษาไทยอยู่ดีครับ)

Keyboard

คีย์บอร์ดของ Windows Phone ดูเรียบง่ายแต่ตัวช่วยตรวจสะกด (auto-correction) ทำงานได้ค่อนข้างดี พิมพ์ไม่ค่อยผิดเท่าไร (ผมไม่ได้ทดสอบเรื่องการพิมพ์ภาษาอังกฤษจริงจัง คงบอกไม่ได้ว่าดีกว่าหรือแย่กว่าค่ายอื่น)
จุดติของคีย์บอร์ดมีอยู่เล็กน้อย
  • มันไม่มีโหมดกดค้างเพื่อป้อนอักษรพิเศษ เหมือนกับที่ Android กดปุ่มแถวบนสุดค้างเพื่อป้อนตัวเลขได้
  • มีปุ่มสำหรับป้อน emoticon ซึ่งไม่ค่อยได้ใช้ แต่ถ้าต้องการป้อนสัญลักษณ์ที่ใช้บ่อยๆ เช่น @ หรือ ? กลับต้องสลับไปยังโหมดตัวเลข-สัญลักษณ์แทน ควรจะสลับกัน
การ copy & paste คล้ายกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ คือกดค้างตรงข้อความที่ต้องการ copy แต่ตอน paste ง่ายขึ้นหน่อยเพราะมีไอคอน Paste แถมมาด้านบนคีย์บอร์ดให้ด้วย
Windows Phone ไม่สามารถลงคีย์บอร์ดอื่นๆ ได้ (เช่นเดียวกับ iOS) และคีย์บอร์ดที่แถมมาด้วยก็ไม่มีภาษาไทยมาให้ (คงต้องรอ Apollo กันต่อไป)
ทางออกเดียวในตอนนี้คงเป็นแอพ Pim Thai ที่เป็นแอพคีย์บอร์ดแยกต่างหาก แล้วค่อย copy ข้อความภาษาไทยไป paste ในแอพที่ต้องการแทนครับ (ต้องขอบคุณคุณ สันติสุข อนามพงษ์ และ อัฑฒ์ ณ นคร ที่ทำแอพนี้ออกมาใช้แก้ขัดและแจกฟรี)
screenshot นี้เอามาจาก Marketplace ครับ ไม่ได้ทำเองนะ

Speech

ถ้ากด Back ค้างไว้จะกลายเป็นหน้าจอสลับแอพ แต่ถ้าเรากดปุ่ม Windows ค้างไว้ จะกลายเป็นโหมดสั่งงานด้วยเสียงแทน
โหมดสั่งงานด้วยเสียงของ Windows Phone ใช้เอนจินวิเคราะห์เสียง Microsot Tellme และสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องต่อกับอินเทอร์เน็ต
ความสามารถด้านเสียงของ Windows Phone ยังจำกัดอยู่บ้าง สามารถใช้ได้แค่การโทร/ส่งข้อความหาเพื่อนในสมุดที่อยู่ และเปิดแอพที่มีอยู่ในเครื่องเท่านั้น (ถ้าต่อเน็ตไว้ด้วยก็สามารถหาข้อมูลจาก keyword จาก Bing ได้อีกอย่างหนึ่ง) เทียบกับฟีเจอร์ของ Siri บน iPhone หรือ Voice Actions บน Android แล้วยังห่างไกลอยู่พอสมควร

Camera

แอพกล้องของ Windows Phone ก็ทำงานได้พื้นฐานเท่าที่แอพกล้องบนมือถือพึงมี สามารถเลือกโหมดการถ่ายรูปตามซีน (scene) ได้, เปลี่ยนค่า white balance/exposure/ISO/contrast, เลือกจุดวัดแสงว่าใช้ค่าเฉลี่ยหรือวัดเฉพาะจุด, ปรับโหมดถ่ายมาโคร และเปิด-ปิดแฟลชได้
สิ่งอำนวยความสะดวกที่ผมชอบคือแสดงภาพที่เพิ่งถ่ายล่าสุดไว้ที่ขอบด้านบนของแอพถ่ายภาพด้วย ช่วยให้เรากดดูภาพล่าสุดได้ง่ายขึ้นมาก
ภาพที่ถ่ายแล้วยังมีฟีเจอร์ face recognition ช่วยเหลือการแท็กเพื่อนบน Facebook ได้ด้วย

Bing

ปุ่ม Search ของ Windows Phone ดูเผินๆ อาจเหมือนกับปุ่ม Search ของ Android แต่แท้จริงแล้วมันต่างกันอย่างสิ้นเชิง
เพราะหน้าที่ของปุ่ม Search ใน Android แปรเปลี่ยนตามหน้าจอแอพในตอนนั้น เช่น กดตอนอยู่หน้า Home จะเป็นการค้นกูเกิล แต่กดตอนอยู่ในหน้า Contacts จะค้นหาชื่อเพื่อนแทน (ซึ่งก็สร้างความสับสนบ้างในบางกรณี)
แต่ปุ่ม Search ของ Windows Phone ทำหน้าที่เพียงอย่างเดียวคือ เข้าไปยังหน้าของ Bing (ส่วนการค้นหาภายในแอพต้องใช้ soft button ของแต่ละแอพเอาเอง)
การใช้งานเหมือน Bing บนเว็บทุกประการ คือพิมพ์ในช่องค้นหาแล้วแสดงลิงก์ จุดต่างอยู่ที่ปุ่มด้านล่าง 4 ปุ่ม มันเป็นการค้นหาเฉพาะทาง ดังนี้ (เรียงจากซ้ายไปขวา)
  • Local Scout - ค้นหาสถานที่โดยรอบ คล้ายกับ Google Places
  • Music - ค้นหาด้วยเพลง เหมือนกับพวก Shazam, SoundHound
  • Vision - ค้นหาด้วยภาพ เหมือนกับ Google Goggles
  • Voice - ค้นหาด้วยเสียงพูด เหมือนกับ Voice Search ของ Android
แต่ในของจริงที่ผมใช้ มีเฉพาะ 2 ไอคอนหลัง (Vision/Voice) เข้าใจว่า Bing แสดงฟีเจอร์เฉพาะประเทศที่รองรับเท่านั้น (บน Lumia มีแอพ Local Scout มาให้ด้วย แต่ใช้งานไม่ได้ ไม่มีข้อมูลสถานที่โผล่ขึ้นมาเลย)

Maps

แอพแผนที่ของ Windows Phone ย่อมต้องใช้ Bing Maps (ตัวแอพชื่อ Maps เฉยๆ)
ฟีเจอร์ของตัวแผนที่ก็ตามมาตรฐาน ค้นหาสถานที่ได้ แสดงเส้นทางได้ มีภาพถ่ายทางอากาศ ส่วนความละเอียดของแผนที่ก็ดูกันเองผ่าน Bing Maps เวอร์ชันเดสก์ท็อป

Marketplace

ร้านขายแอพของไมโครซอฟท์ ซึ่งจริงๆ แล้วมันยังมีเพลง เกม และพ็อดแคสต์ให้ดาวน์โหลดด้วย (ไม่มีหนังและรายการทีวีนะครับ)
ขั้นตอนการค้นหาและติดตั้งแอพก็ไม่มีอะไรต่างไปจากค่ายอื่นๆ ครับ การจ่ายเงินต้องผ่านบัตรเครดิตเท่านั้น (ใส่ข้อมูลบัตรได้ผ่านเว็บไซต์ windowsphone.com)

แอพที่น่าสนใจ

ในเมื่อมีโอกาสได้ลองเล่นแอพบ้างนิดหน่อย ก็มีแอพฟรีบางตัวมาแนะนำ เผื่อจะเป็นประโยชน์
  • Facebook ถือเป็นแอพ Facebook บนมือถือที่ดูดีที่สุดตั้งแต่เคยใช้มา และเป็น Metro UI ที่ออกแบบได้สวยมากตัวหนึ่ง จุดเด่นคือมันนำรูปภาพในอัลบั้มของเรามาแสดงเป็นภาพพื้นหลังด้วย (เปลี่ยนภาพได้) ความสามารถเยอะพอตัวแต่ก็ยังขาดฟีเจอร์สำคัญหลายอย่าง ซึ่งกำลังจะมาในเร็วๆ นี้
  • Twitter แอพเฉพาะสำหรับการใช้ทวิตเตอร์ ฟีเจอร์พื้นฐานครบถ้วน แต่ก็ยังไม่รองรับการแสดง retweet ในแถบ mentions ที่ระบบปฏิบัติการอื่นได้กันแล้ว
  • Pulse แอพอ่านข่าวยอดนิยมบนมือถือหลายแพลตฟอร์ม รูปแบบการใช้งานไม่ต่างกับเวอร์ชันอื่น แต่บน WP ยังไม่รองรับ Pulse.me ที่ช่วยบันทึกข่าวและแหล่งข่าวให้เรา
  • Foursquare แอพอย่างเป็นทางการอีกเหมือนกัน ถือเป็น Foursquare เวอร์ชันที่สวยมากๆ อันหนึ่งเลยครับ
  • Flickr แอพอย่างเป็นทางการของยาฮู ดูภาพได้ อัพโหลดภาพได้ แต่ยังไม่เชื่อมกับ Pictures Hub และอัพโหลดได้ทีละภาพเท่านั้น

แอพที่ยังขาด

  • YouTube - มีแอพที่ไมโครซอฟท์ทำเอง ซึ่งเป็นแค่การลิงก์ไปยัง m.youtube.com ยังขาดแอพเต็มตัวแบบของ Android
  • แอพตระกูล Google - ตอนนี้มีเพียงตัวเดียวคือ Google Search ที่ทำอะไรอื่นไม่ได้เลยนอกจากค้นหา ผลิตภัณฑ์ตัวอื่นของกูเกิลมีแต่แอพแบบไม่เป็นทางการ
  • Instagram - แน่นอนว่ายังไม่มี Instagram บน Windows Phone (ใช้ตัวอื่นอย่าง Fhotoroom แทนได้)

Zune Desktop

สำหรับ Windows Phone รุ่นแรกจนถึงปัจจุบัน ไมโครซอฟท์ยังเดินตามรอยของแอปเปิลคือบังคับการเชื่อมต่อกับพีซีผ่านซอฟต์แวร์ของตัวเอง ซึ่งในที่นี้คือ Zune Desktop
Zune Desktop ทำหน้าที่หลักๆ สองประการคือ
  • จัดการไฟล์มัลติมีเดียภายในเครื่อง (เพลง-วิดีโอ-ภาพ)
  • จัดการอุปกรณ์ที่มาเชื่อมต่อกับพีซี (ไม่ว่าจะเป็น Zune เครื่องเล่นเพลงหรือ Windows Phone) ทั้งในเรื่องการซิงก์และการอัพเดตเฟิร์มแวร์
เราไม่สามารถนำ Windows Phone มาเสียบสาย USB แล้วลากไฟล์ใส่โดยตรงแบบ Android ได้นะครับ เพราะนับถึงตอนนี้ Windows Phone ยังไม่มีโหมด USB mass storage ทุกอย่างต้องทำผ่าน Zune Desktop เท่านั้น (ถ้าใช้แมคก็มี Windows Phone 7 Connector for Mac ส่วนคนใช้ลินุกซ์หมดสิทธิ์)
เท่าที่ดูจากข่าวที่ออกมาในช่วงหลังๆ (ไมโครซอฟท์หยุดขายแอพผ่าน Zune Desktop) คาดว่าไมโครซอฟท์จะทิ้ง Zune Desktop ในอีกไม่ช้า แต่ตอนนี้เราก็ต้องอยู่กับ Zune กันไปก่อน

My Windows Phone

ไมโครซอฟท์ยังเปิดเว็บไซต์ windowsphone.com ซึ่งถ้าล็อกอินด้วย Live ID สามารถบริหารจัดการมือถือของเราได้จากหน้าเว็บโดยตรง
สิ่งที่ใช้งานได้ผ่านหน้าเว็บคือ
  • ค้นหามือถือหาย (Find My Phone)
  • ภาพและวิดีโอที่อัพโหลดขึ้น SkyDrive
  • รายชื่อแอพในเครื่องทั้งหมด (ลงแอพผ่านหน้าเว็บได้แบบเดียวกับ Google Play)
  • รายชื่อเอกสารใน SkyDrive
  • คะแนนและข้อมูลต่างๆ ของ Xbox Live
สำหรับฟีเจอร์ Find My Phone ลองแล้วก็เวิร์คดีครับ หาสถานที่ได้ค่อนข้างแม่น (ในภาพมันกำลังค้นหาอยู่) แค่เรากรอกเบอร์โทรของตัวเองไว้กับเว็บไซต์ windowsphone.com แล้วเปิดเครื่องและต่อกับเครือข่ายมือถือไว้ก็พอ
เมื่อเรากด Find ไมโครซอฟท์จะส่ง SMS ที่มีโค้ดเฉพาะมายังเครื่องของเรา ซึ่งเป็นการสั่งให้เครื่องทำงานในโหมดพิเศษ (ล็อคเครื่อง ส่งเสียง หรือลบข้อมูลในเครื่อง) จำกัดบัญชีละ 15 ข้อความต่อเดือน

สรุป

Windows Phone เป็นระบบปฏิบัติการมือถือที่น่าสนใจและมีศักยภาพมากในอนาคต (ในเรื่องความลื่นไหลนั้นดีกว่า Android ทุกตัวที่ผมเคยใช้มา) แต่สถานะในปัจจุบันมันยังขาดความสมบูรณ์ในหลายๆ ด้าน (อารมณ์คล้ายๆ กับใช้ Android รุ่น 1.x หรือ 2.0) ซึ่งเราคงต้องรอไมโครซอฟท์พัฒนามันต่อไปอีกพักหนึ่ง
เรื่องความสามารถและ ecosystem ในเรื่องแอพปัจจุบัน อยู่ในช่วงที่เริ่มใช้งานได้บ้างแล้ว เพียงแต่เทียบกับคู่แข่งที่ออกนำมาก่อนหลายช่วงตัวก็ต้องยอมรับว่าด้อยกว่ากันอยู่เยอะพอสมควร และจุดตายที่ไม่น่าให้อภัยจริงๆ คือเรื่องภาษาไทย ที่ไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไรกันแน่
จุดเด่น
  • หน้าตาสวยงาม มีสไตล์เป็นของตัวเอง
  • ลื่นไหวกว่า Android อย่างเห็นได้ชัดเจน
  • Live Tiles เป็นแนวคิดที่แปลกใหม่และใช้งานได้จริง
  • แนวคิดเรื่อง Hub เจ๋งมาก มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (ระดับหนึ่ง)
จุดด้อย
  • ภาษาไทยใช้ไม่ได้ในส่วนของคีย์บอร์ดและเบราว์เซอร์
  • ยังขาดฟีเจอร์พื้นฐานที่จำเป็นในบางเรื่อง เช่น การเลือกรูปภาพมากกว่าหนึ่งรูปพร้อมกัน หรือการบอกว่าเป็นอีเมลสแปม
  • status bar มาๆ หายๆ
  • Hub จำกัดเฉพาะเครือข่ายที่ไมโครซอฟท์รองรับเท่านั้น (หลักๆ คือ Windows Live กับ Facebook) ถ้าใช้นอกเหนือจากนี้ก็จบกัน
  • แอพใน Marketplace ยังมีน้อยเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ขาดแอพสำคัญหลายตัวที่คนอื่นมีกัน
  • การซิงก์ยังผูกกับ Zune เพียงอย่างเดียว และไม่มีโหมด USB mass storage ให้เลือก
จากการลองใช้มาหลายวัน ผมคิดว่าผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วไป (ที่ไม่ใช่แฟนคลับของ Windows Phone ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าตัวเองต้องการอะไร) ยังไม่มีเหตุผลจำเป็นอะไรที่ควรเปลี่ยนมาใช้ Windows Phone ในตอนนี้
คัดลอก http://www.blognone.com/node/32091